วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Ohm’s Law

วงจรไฟฟ้า คือทางเดินของกระแสไฟฟ้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นหรือแหล่งกำเหนิดไฟฟ้า ไปตามลวดตัวนำหรือสายไฟฟ้า จนได้หมุนกลับมายังจุดเริ่มต้นใหม่มีลักษณะเป็นห่วงปิด วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบด้วย เซลล์ไฟฟ้าหรือแหล่งกำเหนิดไฟฟ้า หลอดไฟ ลวดตัวนำหรือสายไฟฟ้า


โดยเราสามารถคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่าง กระแสไฟฟ้า ตัวต้านทาน หรือ หลอดไฟและ ความต่างศักย์ไฟฟ้าตามกฎของโอห์มดังนี้ 

V=IR

โดย         I คือ กระแสไฟฟ้า                 มีหน่วยเป็น            แอมแปร์(A)
R คือ ค่าความต้านทาน        มีหน่วยเป็น            โอห์ม(Ω)
V คือ ค่าความต่างศักย์        มีหน่วยเป็น            โวลท์(V)

 ในการที่เราจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลในวงจรไฟฟ้าได้นั้นเราจำเป็นที่จะต้องใส่พลังงานไฟฟ้าค่าหนึ่งเข้าไปในวงจร ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการเคลื่อนที่อิเลคตรอนอิสระในตัวนำให้ไหลอย่างเป็นระเบียบจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าขั้วหนึ่งไปยังแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอีกขั้วหนึ่ง ซึ่งกระแสอิเลกตรอนอิสระนี้เองคือต้นกำเนิดของกระแสไฟฟ้า (I) โดยกระแสไฟฟ้าไหลในทิศตรงข้ามกับกระแสอิเลคตรอนในวงจร


นิยามของกระแสไฟฟ้า(I)คือ ประจุไฟฟ้า(Q)ที่เคลื่อนไหลในวงจรไฟฟ้าในเวลาหนึ่งวินาที ซึ่งกระแสไฟฟ้าหนึ่งแอมแปร์(A)นั้นจะเท่ากับประจุไฟฟ้าหนึ่งคูลอมป์(C)ไหลผ่านพื้นที่หน้าตัดของตัวนำไฟฟ้าในหนึ่งวินาทีและหนึ่งคูลอมป์นั้นจะเท่ากับอิเลคตรอนอิสระ 6,250,000,000,000,000,000 ตัว มีความสัมพันธ์ดังสมการ


I=Q/T


โดย         I คือ กระแสไฟฟ้า                 มีหน่วยเป็น            แอมแปร์(A)
         Q คือ ประจุไฟฟ้า                  มีหน่วยเป็น            คูลอมป์(C)
          T คือ เวลา                              มีหน่วยเป็น            วินาที(S)

หากเราทำการเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้าใดๆของเราเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือตัวต้านทานใดๆแล้วเราสามารถหาค่าต่างๆที่เราต้องการจากการคำนวนได้ ตัวอย่างเช่น
ถ้าหากเราอยากทราบว่าหลอดไฟมีความต้านทานเท่าไหร่และเราทราบค่าของกระแสไฟฟ้า และค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า ทำให้เราสามารถคำนวณหาค่าความต้านทานได้
ถ้าให้       V=15 V
              I= 3 A
จะได้              V=IR
              R= V/I
ดังนั้น      R=15/3= 5 โอห์ม
ในทำนองเดียวกันหากเราทราบค่าทางไฟฟ้าอื่นๆ เราก็สามารถที่จะใช้กฎของโอห์มในการคำนวณหาค่าต่างๆที่ต้องการได้
                                       

อ้างอิง
                                                      
                                                                                 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น