วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Electronics Filters

วงจรกรองความถี่เป็นวงจรที่ทำการจัดองค์ประกอบของสัญญาณความถี่ให้เป็นไปตามที่เราต้องการเนื่องจากว่าโดยปกติแล้วสัญญาณทางอิเลคทรอนิกส์ต่างๆจะมีองค์ประกอบความถี่ของสัญญาณทั้งที่เราต้องการและไม่ต้องการในเวลาเดียวกัน เช่น ถ้าสัญญาณหนึ่งสัญญาณมีองค์ประกอบความถี่เป็น 3kHz, 5 kHz และ 10 kHz แต่เราต้องการความถี่เพียง 5 kHz และ 10 kHz เราจะสามารถทำการกรองความถี่ที่เราต้องการได้ด้วยวงจรกรองความถี่
โดยพื้นฐานแล้วเราสามารถแบ่ง Filter ออกได้เป็น
·       Low Pass Filters

·       High Pass Filters

·       Band Pass Filters

·       Notch Filters หรือ Band Reject Filters

และเราสามารถแบ่งชนิดของ Filter ตามเทคโนโลยีได้ดังนี้
·       Passive Filters
ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ชนิด Passive เช่น R,L,C ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ไฟเลี้ยงจากภายนอก
·       Active Filters
ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ทั้งชนิด Passive และ Active เช่น Op amp และ R,C ต่างๆ
·       Digital Filters
·       Others



อ้างอิง

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Basic circuit theory:Superposition

เราจะใช้ทฤษฎี superposition ก็ต่อเมื่อเรามี แหล่งจ่ายไฟอิสระ(independent voltage source)หลายแหล่ง
โดยตามทฤษฎีนี้บอกว่าเราสามารถที่จะแยกคิดผลจากแหล่งจ่ายนั้นๆอย่างอิสระได้ ซึ่งจากภาพข้างบนนั้น เราสามารถที่จะคิด Vout ได้โดยการคิดผลจากแหล่งจ่าย V1 ก่อนและคิดผลจากแหล่งจ่าย V2 ทีหลังจากนั้นนำค่า Vout ที่ได้จากแหล่งจ่าย V1 และ V2 มาบวกกัน
คิดจากแหล่งจ่าย V1
คิดจากแหล่งจ่าย V2
จากภาพจะสามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า         Vout = Vout1+Vout2



วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Basic circuit theory:thevenin's theory

ทำไมต้องใช้ทฤษฎีเทวินิน?
เนื่องจากในบางวงจรที่มีความซับซ้อนมากๆ จึงมีการคิดค้นวิธีการที่จะทำให้วิเคราะห์วงจรง่ายขึ้น
โดยมีวิธีการวิเคราะห์วงจรดังนี้
1.ทำการมองไปเข้าไปที่ทางซ้ายของขั้ว X-X โดยเสมือนตัดวงจรทางขวาของขั้วทิ้ง
2.คำนวณ no load voltage ที่ขั้ว X-X โดยใช้ voltage divider จะได้ Vth
3.ทำการ short แหล่งจ่ายไฟและคำนวณค่า Rth โดยการมองจากขั้ว X-X
4. นำ Rth และ Vth มาแทนค่าวงจรส่วนที่เราทำการวิเคราะห์แล้วทำการต่อวงจรที่เหลือกลับคืน

จะเห็นว่าเราสามารถวิเคราะห์วงจรได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมีวงจรเพียง loop เดียว